วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

วิเคราะห์ วรรรกรรมเรื่อง ผาแดงนางไอ่

ภารกิจพิเศษ วิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง ผาแดงนางไอ่

    บทที่ 1 สรุปเนื้อหาวรรณกรรม ผาแดงนางไอ่
                   ครั้งหนึ่ง ยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อ "นครเอกชะทีตา" มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็น พระยาขอมมีพระธิดาสาวสวยนามว่า "นางไอ่คำ" ซึ่งเป็นที่รักและ หวงแหนมาก จึงสร้างปราสาท 7 ชั้นให้ อยู่พร้อมเหล่าสนม กำนัล คอยดูแลอย่างดี
               ขณะเดียวกันยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อ "เมืองผาโพง" มีเจ้าชายนามว่า "ท้าวผาแดง" เป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ ท้าวผาแดงแห่งเมืองผาโพง ได้ยินกิตติศัพท์ความงามของธิดาไอ่คำมาก่อนแล้ว ใคร่อยากจะเห็นหน้า จึงปลอมตัวเป็นพ่อค้าพเนจร ถึง นครเอกชะทีตา และติดสินบนนางสนมกำนัล ให้นำของขวัญลอบเข้าไปให้นางไอ่คำ ด้วยผลกรรมที่ผูกพันกันมาแต่ชาติ ปาง ก่อนนางไอ่คำกับท้าวผาแดง จึงได้มีใจปฏิพัทธ์ต่อกัน จนในที่สุดทั้ง 2 ก็ได้อภิรมย์สมรักกัน
   ก่อนท้าวผาแดงจะจากไป เพื่อจัดขบวนขันหมากมาสู่ขอ ทั้ง 2 ได้คร่ำครวญต่อกันด้วยความอาลัยยิ่ง วันเวลาผ่านไปถึงเดือน 6 เป็นประเพณีแต่โบราณของเมืองเอกชะทีตา จะต้องมีการทำบุญบั้งไฟบูชาพญาแถนระยาขอม จึงได้ประกาศบอก ไปตามหัวเมืองต่างๆ ว่า บุญบั้งไฟปีนี้จะเป็นการหาผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยอีกด้วย ขอให้เจ้าชายหัวเมืองต่างๆ จัดทำบั้งไฟมาจุดแข่งขันกัน ผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษกกับพระธิดาไอ่คำด้วย
                ข่าวนี้ได้ร่ำลือไปทั่วสารทิศ ทุกเมืองในขอบเขตแว่นแคว้นต่างก็ส่งบั้งไฟเข้ามาแข่งขัน เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยาง เมืองเชียงเหียน เชียงทอง แม้กระทั่งพญานาคใต้เมืองบาดาลก็อดใจไม่ไหว ปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาดูโฉมงามนางไอ่คำด้วยในวันงานบุญบั้งไฟ เมื่อถึงวันแข่งขันจุดบั้งไฟ ปรากฏว่า บั้งไฟท้าวผาแดงจุดไม่ขึ้นพ่นควันดำอยู่ถึง 3 วัน 3 คืน จึงระเบิดแตกออกเป็นเสี่ยงๆทำให้ความหวังท้าวผาแดงหมดสิ้นลง  ขณะเดียวกัน ท้าวพังคีพญานาค ที่ปลอมเป็นกระรอกเผือก มีกระดิ่งผูกคอน่ารัก มาไต่เต้นไปมาอยู่บนยอดไม้ ข้างปราสาทนางไอ่คำ ก็ปรากฏร่างให้นางไอ่คำเห็น นางจึงคิดอยากได้มาเลี้ยง แต่แล้วก็จับไม่ได้ จึงบอกให้นายพราน ยิงเอาตัวตายมา ในที่สุดกระรอกเผือกพังคีก็ถูกยิงด้วยลูกดอกจนตาย ก่อนตายท้าวพังคีได้อธิษฐานไว้ว่า "ขอให้เนื้อของข้าได้แปดพันเกวียน คนทั้งเมืองอย่าได้กินหมดเกลี้ยง"
                จากนั้นร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่ขึ้น จนผู้คนแตกตื่นมาดูกัน และจัดการแล่เนื้อแบ่งกันไปกินทั่วเมืองด้วยว่าเป็นอาหาร ทิพย์ ยกเว้นแต่พวกแม่ม่ายที่ชาวเมืองรังเกียจ ไม่แบ่งเนื้อกระรอกให้ พญานาคแห่งเมืองบาดาลทราบข่าวท้าวพังคีถูกมนุษย์ฆ่าตาย แล่เนื้อไปกินกันทั้งเมือง จึงโกธรแค้นยิ่งนัก ดึกสงัดของคืนนั้นขณะที่ชาวเมืองชะทีตากำลังหลับไหล เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ท้องฟ้าอื้ออึงไปด้วยพายุฝนฟ้า กระหน่ำลงมาอย่างหนัก ฟ้าแลบอยู่มิได้ขาด แผ่นดินเริ่มถล่มยุบตัวลงไปทีละน้อย ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของผู้คนที่วิ่งหนี ตาย เหล่าพญานาคผุดขึ้นมานับหมื่น นับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3 - 4 แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่ายไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือกจึงรอดตายฝ่ายท้าวผาแดงได้โอกาสรีบควบม้าหนีออกจากเมือง โดยไม่ลืมแวะรับพระธิดาไอ่คำไปด้วย แต่แม้จะเร่งฝีเท้า ม้าเท่าใด ก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ทำให้แผ่นดินถล่มตามมาติดๆ ในที่สุดก็กลืนท้าวผาแดงและพระธิดาไอ่คำพร้อมม้าแสน รู้ชื่อ "บักสาม" จมหายไปใต้พื้นดินรุ่งเช้าภาพของเมืองเอกชะทีตาที่เคยรุ่งเรืองโอฬาร ก็อันตธานหายไปสิ้น คงเห็นพื้นน้ำกว้างยาวสุดตา ทุกชีวิตในเมืองเอกชะทีตาจมสู่ใต้บาดาลจนหมดสิ้น เหลือไว้แต่แม่ม่ายบนเกาะร้าง 3 - 4 แห่ง ในผืนน้ำอันกว้างนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น
หนองหานหลวง ดังปรากฏในปัจจุบัน.
ที่มาและความสำคัญ
เป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาถึงมูลเหตุที่ทำให้เกิดหนองหาน จังหวัดสกลนคร และอุดรธานี เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรักสามเส้าโศกนาฏกรรมระหว่างนางไอ่ ท้าวผาแดง และท้าวภังคี ในเรื่องมีการแข่งขันจุดบั้งไฟ  เมื่อท้าวภังคีซึ่งคือพญานาคผู้แปลงตัวเป็นกระรอกเผือกถูกทำร้ายจนถึงแก่ความตาย พญานาคผู้เป็นบิดาจึงบันดาลให้เกิดเมืองล่มจมสู่บาดาล เกิดเป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาถึงหนองน้ำใหญ่ที่มีเมืองล่มอยู่ภายใต้หนองน้ำนั้น ตำนานเรื่องนี้จึงชี้ให้เห็นโทษของการทำลายธรรมชาติ (พญานาค) จนทำให้เมืองมนุษย์ล่มสลาย  ตำนานเรื่องนี้ใช้อธิบายภูมิศาสตร์และภูมินามในหลายสถานที่ในสกลนครและอุดรธานี ในปัจจุบัน มีการใช้ตำนานเรื่องนี้ในประเพณีบุญบั้งไฟด้วยเนื่องจากในตำนานมีเรื่องของการแข่งขันจุดบั้งไฟ ในขบวนแห่บั้งไฟในปัจจุบันจึงมีการนำเสนอตัวละครผาแดง-นางไอ่ด้วย

ผู้แต่ง   นายสิริวัฒน์  คำวันสา   สำนักพิมพ์ คุรุสภาราดพร้าว  ปีที่พิมพ์ 
2552





เรียบเรียงโดย  เตชวโรภิกขุ  ( อีนตา กวีวงศ์ ) สำนักพิมพ์คลังนานาวิทยา  ปีที่พิมพ์ 2544   ร้านคลังนานาธรรม  ก่อตั้งพ.ศ. 2480





                                             161/6-8 ด้านข้างโรงเรียนกัลยาณวัตร ถนนกลางเมือง
                                              ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
                                              Tel 043-221591, 043-221346 แฟ๊กซ์ 043-223482
                                              EMAIL: KLANGNANATHAM@GMAIL.COM

 บทที่การวิเคราะห์ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่

1. วิเคราะห์ชื่อเรื่อง  ผาแดง  นางไอ่ 
  - ชื่อเรื่องของวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เรื่อง ผาแดง นางไอ่ นี้มีที่มาจากการนำเอาชื่อของตัวละครเอก ที่เป็นพระนางในเรื่องมาตั้งชื่อวรรณกรรม
2. แก่นเรื่อง
 - รักสามเศร้าเหตุแห่งโศกนาฏกรรมแห่งรัก
3. โครงเรื่อง
            การเปิดเรื่อง
               - เป็นการบรรยายเกี่ยวกับ พระยาขอม เจ้าเมืองครองเมือง เอกธิดา หรือ เอกชะธีตา ที่มี
พระธิดาที่มีโฉมงดงาม ชื่อว่า นางไอ่คำ
              การดำเนินเรื่อง
                - ท้าวผาแดง เจ้าชายเมืองผาโพง ทราบข่าวเล่าลือถึงสิริโฉมอันงดงามของ นางไอ่ ก็เกิดความหลงไหลใฝ่ฝันในตัวนางไอ่ จึงทอดสัมพันธ์ไมตรีด้วยการส่งแก้วแหวนเงินทองและผ้าแพรพรรณเนื้อดีไปฝากและแอบไป
               - ผาแดงแอบไปหานางไอ่และรักใคร่กัน ผาแดงสัญญากับนางไอ่ว่าจะมาสู่ขอตามประเพณี
               - ท้าวพังคี ลูกชายพญาศรีสุทโธ พญานาคผู้ครองเมืองบาดาล อีกตนหนึ่งที่อยากยลสิริโฉมของ นางไอ่ เพราะกรรมที่เคยทำร่วมกันในอดีตจึงทำให้เป็นเช่นนี้
               - บรรยายถึง อดีตชาติ ของพังคี ที่เคยเป็นชายหนุ่มที่ยากจนบ้าใบ้
               - พระยาขอมมีใบฏีกาบอกไปยังเมืองต่างๆให้มาแข่งบั้งไฟ ใครชนะจะยก นางไอ่ให้เป็นคู่ครอง
                - พระยาขอมกำหนดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันแข่งบั้งไฟ
                - ผาแดงมาร่วมงานแข่งบั้งไฟ
               - ภังคีแปลงกายเป็นกระรอกเพื่อชมความงามของนางไอ่ และลุ้นว่าใครจะได้นางไอ่ไปครอง              
               - การแข่งขันไม่มีใครแพ้ใครชนะทุกคนแยกย้ายกลับเมือง
           
  - ภังคีกลับไปเมืองบาดาลแล้วกลับมาเมืองเอกธิดาอีกครั้งโดยแปลงกายเป็นกระรอกมีกระดิ่งห้อยคอ
              - นางไอ่อยากได้กระรอกน้อยมาเลี้ยง แต่จับเป็นไม่ได้เลยให้นายพรานจับตาย           
              - นายพรานแจกจ่ายเนื้อกระรอกให้ชาวเมืองกินยกเว้นแม่ฮ้างแม่ม่ายไม่มีโอกาสได้ชิมรสของกระรอกด่อน
               - พญานาคราชทราบข่าวภังคีตายก็มีความโกธร  ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเกิดน้ำทะลักเจ้าท่วมเมืองเอกธิดาผู้คนจมหายลงใต้น้ำหมดยกเว้นหญิงแก่หญิงม่ายที่ไม่ได้กินเนื้อกระรอก
              - ผาแดงทราบข่าวเมืองเอกธิดาและจะกลับมาช่วยนางไอ่แต่ช่วยไม่ได้นางไอ่จมลงใต้น้ำ
         การปิดเรื่อง
               - ท้าวผาแดงและนางไอ่ถูกพญานาคกลืนกินตายไปตามกัน
4. วิเคราะห์ตัวละคร
ตัวละครหลัก
                1 ท้าวผาแดง
                เจ้าชายเมืองผาโพง  เป็นชายที่มีรูปร่างสง่างาม องอาจ ผึ่งผาย เป็นที่ต้องตาต้องใจของหญิงที่พบเห็น มีชาติเป็นมนุษย์
               2 นางไอ่
                เป็นธิดาของพระยาขอมแห่งเมืองเอกซะทีตา  เป็นหญิงที่มีรูปร่างหน้าตางดงาม ซึ่งจะหาสาวงามนางใดในสามภพมาเทียบมิได้
              3 ท้าวพังคี
                ลูกชายพญาศรีสุทโธ พญานาคผู้ครองเมืองบาดาล ก็เป็นอีกตนหนึ่งที่มี ความไฝ่ฝันอยากยลศิริโฉมของนางไอ่ ทั้งนี้ก็เพราะเป็นเวรกรรมในอดีตชาตินั้นบันดาลให้เป็นไป
                        ตัวละครรอง
                1. ท้าวสุทโธนาค
                เป็นพญานาคแห่งเมืองบาดาล เป็นพ่อที่มีความรักลูกมาก เวลาโมโหหรือโกรธจะน่ากลัว
               2. พระยาขอม
                เป็นกษัตริย์ครองเมืองเอกซะฑีตา  เป็นพระบิดาที่มีความรักลูกมาก
5. ภาษา
                นิทานผาแดง นางไอ่ ในหนังสือเล่มที่เลือกมาศึกษา จะแต่งเป็นคำกลอนโบราณอีสาน ฉันทลักษณ์ที่ใช้จะเป็นภาษาอีสาน คล้ายการแต่งร่าย มีสัมผัสสระและพยัญชนะเพื่อทำให้เกิดความคล้องจอง ไพเราะและทำให้ผู้อ่านเกิดความคล้อยตามเน้นการใช้ภาษาอีสานหรือภาษาลาว เพราะเป็นวรรณกรรมอีสานเป็นหนังสือที่เหมาะแก่ผู้อ่านทั่วๆไปเพื่อความสนุกสนาน อ่านแล้วทำให้ฉุดคิด มีคติสอนใจ ไม่ว่าจะเป็นคติทางโลกและทางธรรม เป็นหนังสือที่ใช้ภาษาอีสานหรือภาษาลาวได้ไพเราะมาก
6. ฉาก
                ฉากหลัก
1. เมืองเอกซะฑีตา
- มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ทีครองเมือง เป็นสถานที่จัดแข่งบั้งไฟ เพื่อหาคู่ให้นางไอ่  ถ้าใครแข่งบั้งไฟชนะจะได้นางไอ่ไปครอง
- เป็นสถานที่นางไอ่กับผาแดงแอบลักลอกมาหากันเกิดเป็นความรัก
- เป็นสถานที่เหกิดเหตุการณ์ท้าวสุโธนาคไล่ฆ่าผู้คนด้วยความโกรธที่ลูกชายพังคีตาย
                ฉากรอง
1. เมืองบาดาล
- พังคี ทูลขออนุญาตพระบิดาขึ้นมาเมืองมนุษย์
               
บทที่ 3 ความโดเด่น
ด้านเนื้อหา
       วรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่ ถือเป็นวรรณกรรมที่ได้สอดแทรก ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่โดดเด่นที่รู้จักกันมากนั้นคือ ประเพณีบุญบั้งไฟ และยังแทรก ค่านิยม ความเชื่อ และปรัชญาชีวิตของคนอีสานไว้มากมาย
ด้านตัวละคร
 
         วรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่ ตัวละครเป็นตัวกำหนดให้เรื่องดำเนินไปต่อได้ และกล่าวถึงความรักที่พังคีมั่นคงในรักเดียวต่อนางไอ่ที่มีมาแต่ชาติที่แล้วจนมาถึงปัจจุบันชาติ
ด้านการใช้ภาษา

        ในการแต่งวรรณกรรมเรื่อง ผาแดง นางไอ่ จะใช้ภาษาลาวและภาษาไทยลาว โดยแต่งเป็นคำกลอนโบราณที่ดึงดูดความสนใจ  ภาษาสละสลวย

บทที่ ๔  การนำไปประยุกต์ใช้

1.  ประติมากรรมท้าวผาแดง นางไอ่ ขี่ม้าหนีพญานาค (เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ)




2. มีการนำมาเป็นแต่งหนังสือนิทานสำหรับอ่านเล่น

                                         


3.มีการนำมาแต่งเป็นเพลง เป็นกลอนลำที่ใช้ร้องเล่น ใช้ในการแสดง




สรุปท้ายเรื่อง  อินโฟกราฟฟิค 
เรื่อง  ผาแดง นางไอ่




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น