วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

ภารกิจแต่งเพลงจากวรรณกรรมตนเอง ผาแดงนางไอ่



ภารกิจแต่งเพลง  วรรณกรรมเรื่อง ผาแดงนางไอ่



ภารกิจพิเศษแต่งเพลงจากวรรณกรรมของตนเอง


แต่งเพลงจากวรรณกรรมเรื่อง : ผาแดงนางไอ่ (จากตอน ผาแดงแอบมารักกับนางไอ่ที่เมืองเอกซะธีตา)
ทำนองเพลง : เมียบ่ได้แต่ง


ชื่อเพลง วาสนาบ่ได้คู่

วาสนาของน้อง  ฮักได้แต่มองคงบ่ได้คู่
บุญให้มาพ้อแต่บ่ส่อยยู้. ให้เฮาได้คู่ได้อยู่ข้างกาย

สายแนนบ่ฮอดอ้าย
แม้นฮักหลายกะต้องข่มใจ
ในเมื่อฮักเฮาเป็นไปบ่ได้
ต้องปล่อยอ้ายไปให้เขาได้คู่

วาสนาน้องนี้คือ นางไอ่
ฮักแต่ผาแดงอ้า..ยังอดสู
วาสนาน้องนี้..จำลาคู่
บุญบ่ยู้ให้เฮียง เคียงพี่ยา

ชาตินี้คงได้แค่กอด
คิดฮอดอยู่กับน้ำตา
ให้อ้ายฮักกันกับว่าที่ภรรยา
อ้ายจงรักษาฮักเขาให้หมั่นแก่น


วาสนาของน้อง  ฮักได้แต่มองคงบ่ได้คู่
บุญบ่พอส่อยยู้. ให้เฮาได้คู่ได้อยู่ข้างกาย

สายแนนบ่ฮอดอ้าย
แม้นฮักหลายกะต้องข่มใจ
ในเมื่อฮักเฮาเป็นไปบ่ได้
ต้องปล่อยอ้ายไปให้เขาได้คู่

วาสนาน้องนี้คือ นางไอ่
ฮักแต่ผาแดงอ้า..ยังอดสู
วาสนาน้องนี้..จำลาคู่
บุญบ่ยู้ให้เฮียง เคียงพี่ยา

ชาตินี้คงได้แค่กอด
คิดฮอดอยู่กับน้ำตา
ให้อ้ายฮักกันกับว่าที่ภรรยา
อ้ายจงรักษาฮักเขาให้หมั่นแก่น


*******************************************************************
นางสาวปิยะพร  ภูชมศรี   รหัสนักศึกษา  57210403424
นักศึกษาชั้นปีที่  3  หมู่ 1
คณะครุศาสตร์  สาขาวิชาภาษาไทย


วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

กลุ่มเพลงประกอบการละเล่น

เพลงพื้นบ้าน
ประเภทประกอบการละเล่น รวมกับกลุ่ม 5,6

1. เพลงประกอบการละเล่นภาคกลาง มอญซ่อนผ้า

  เพลงประกอบการเล่น
        "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง  ใครเผลอคอยระวัง ใครเผลอคอยระวัง ตุ๊กตาอยู่ข้างหลังระวังจะถูกตี”  
อุปกรณ์
        ผ้าเช็ดหน้าขนาดใหญ่หนึ่งผืน ไม่ต้องขมวดหรือพันให้เป็นเกลียว เพราะถ้าฟาดถูกผู้ใดเข้าแล้วจะเจ็บ

        วิธีเล่น
        ขั้นที่ ๑ ให้ผู้เล่นทั้งหมดจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้ที่ได้ไม้สั้นที่สุด ถือผ้าเช็ดหน้าที่เตรียมไว้แล้วออกไปยืนข้างนอก ที่เหลือนอกนั้นนั่งกันเป็นวงกลม หันหน้าเข้าหากัน ในระยะห่างกันประมาณ ๑ ศอก เอามือทั้งสองพาดไว้ที่ตัก คุยกันหรือร้องเพลงก็ได้ เพื่อความรื่นเริง
        ขั้นที่ ๒ ให้ผู้ถือผ้าบังตัวไว้มิให้ผู้นั่งเห็นได้ถนัด แล้วเดินหรือวิ่งไปรอบๆ วงต้องทำท่าหรือหน้าตาให้สนิท เดินบ้างวิ่งบ้าง ทำเป็นวางผ้าแต่ไม่วาง เพื่อหลอกล่อผู้ที่นั่งให้เผลอตัวเมื่อเห็นเป็นโอกาสแล้วก็แอบหย่อนผ้าลงไว้ ใกล้หลังผู้นั่งคนใดคนหนึ่ง เมื่อวางผ้าแล้วควรเดินหรือวิ่งให้เร็วต่อไปเพื่อกลับถึงที่เดิมโดยมิให้ผู้ นั้นต้องรู้ตัว
        ขั้นที่ ๓ ถ้าผู้ถูกวางผ้าข้างหลังรู้สึกตัวเสียก่อนผู้วางผ้ามาถึง ก็ต้องรีบฉวยผ้าวิ่งมานั่งแทนที่ของตนได้ แล้วจึงเดินหาโอกาสวางผ้าไว้ข้างหลังผู้หนึ่งผู้ใดต่อไป แต่ถ้าถูกวางข้างหลังไม่รู้สึกตัว จนผู้ที่วางวิ่งมาถึงก็หยิบผ้าที่วางนั้นขึ้นฟาดผู้ถูกวางจนกว่าจะลุกขึ้น รับผ้าออกเดิน ผู้วางจึงลงนั่งแทนที่
ข้อระวังในการเล่น ผู้นั่งทุกคนจะหันหน้าไปดูข้างหลังไม่ได้ ถ้าหากสงสัยว่าจะมีผ้าอยู่ข้างหลังตนหรือไม่ก็ให้ใช้มือคลำดูเท่านั้น ผู้ถือต้องวางผ้าลงข้างหลังให้ใกล้ตัวผู้นั่ง จะวางเกินกว่า ๑ ศอกไม่ได้และให้วิ่งหรือเดินต่อไปข้างหน้าจนบรรจบรอบ จะหันหลังเดินย้อนมาไม่ได้

2.เพลงประกอบการละเล่นภาคเหนือ  โพงพาง

ภาค: ภาคเหนือ 

จังหวัด: ตาก สถานที่เล่น: สนาม,ลานกว้าง อุปกรณ์: ผ้าปิดตา จำนวนผู้เล่น: ไม่จำกัดจำนวน กติกา            ใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทนวิธีเล่น             หาคนที่เป็นปลาโดยการจับไม้สั้น ไม้ยาว เอาผ้าผูกตาคนที่เป็นปลา แล้วหมุน 3 รอบ ผู้เล่นคนอื่นๆ ล้อมวงจับมือกันเดินเป็นวงกลม พร้อมกับร้องเพลงประกอบ เมื่อจบเพลงถามว่า ปลาเป็นหรือปลาตายถ้าตอบว่า ปลาเป็น คนที่อยู่รอบวงจะขยับเขยื้อนหนีได้ ถ้าบอกปลาตายจะต้องนั่งอยู่เฉยๆ หากคนที่ถูกปิดตาทายถูกว่าผู้ที่ตนจับได้เป็นใคร ผู้ที่ถูกจับนั้นก็ต้องมาเป็นปลาแทน ถ้าทายผิดก็ต้องเป็นต่อไป
บทร้องประกอบการเล่น         
            "โพงพางเอย ปลาเข้าลอดปลาตาบอด เข้าลอดโพงพางโพงพางเอย นกกระยางเข้าลอดเสือปลาตาบอด เข้าลอดโพงพางกินปลาเป็นหรือกินปลาตาย"   
ประโยชน์ของการเล่น                                                           
            การละเล่นชนิดนี้ฝึกความสังเกต ความจำ และความมีไหวพริบโอกาส
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป

3.เพลงประกอบการละเล่นภาคอีสาน จ้ำมู่มี่



เพลง จ้ำมู่มี่
จ้ำมู่มี่ มู่มกมู่มน หักคอคนใส่หน้านกก๊ด หน้านกก๊ดหน้าลิง หน้าลาย หน้าผีพราย หน้าหยิบ หน้าหย่อม หย่อมแยะ อีแม่ตอแหละ ถือแหวนข้างซ้าย ย้ายออกตอกเข้าสุดปั๋ด
จำนวนผู้เล่น ประมาณ 2-3 คนขึ้นไป
วิธีเล่น
              ผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน คว่ำมือทั้งสองลงบนพื้น คนหนึ่งเป็นคนจี้ โดยใช้นิ้วชี้จิ้มไปที่นิ้วของผู้เล่นไล่ไปทีละนิ้วให้รอบวง พร้อมทั้งร้องเพลงไปด้วย เมื่อร้องจบแล้ว จิ้มอยู่ที่นิ้วใดคนนั้นต้องพับนิ้วนั้นเข้าไป ผู้จิ้มก็เริ่มเล่นใหม่ไปเรื่อยๆ ใครต้องพับนิ้วทั้งหมดเป็นคนแรกแพ้
สถานที่เล่น : เล่นในพื้นที่โล่ง กว้าง
เวลาในการเล่น : เล่นตอนไหนก็ได้
ประโยชน์ในการเล่น : เล่นเพื่อนผ่อนคลายเพื่อความสนุกสนาน 
4.เพลงประกอบการละเล่นภาคใต้ จุ้มจี้

 อุปกรณ์
๑. จำนวนผู้เล่นตั้งแต่ ๓-๑๐ คน
๒. สถานที่นิยมเล่นในที่ร่ม
วิธีการเล่น
จุ้มจี้ หรือจ้ำจี้ เป็นการเล่นเสี่ยงทายคัดเลือกคนออกไปจากวงโดยการนับและใช้นิ้วชี้ไปยังมือ หรือนิ้วของผู้เล่น จำนวนผู้เล่นตั้งแต่ ๓-๑๐ คน สถานที่เล่นนิยมเล่นในร่ม ก่อนเริ่มเล่นต้องเสี่ยงทายคนจี้เสียก่อน เมื่อได้ตัวคนจี้แล้ว ผู้เล่นทุกคนรวมทั้งผู้จี้ด้วยต้องนั่งล้อมเป็นวงกลม คว่ำฝ่ามือทั้ง ๒ ข้างลงบนพื้นข้างหน้ายกเว้นคนจี้จะคว่ำฝ่ามือลงข้างเดียว อีกข้างหนึ่งจะใช้สำหรับจี้หลังมือทุกมือที่วางอยูในวง โดยเริ่มจี้จากมือของตนเองก่อน ขณะที่จี้ผู้เล่นช่วยกันร้องเพลงประกอบการเล่น ๑ พยางค์ต่อการจี้ ๑ ครั้งหรือ ๑ มือ เมื่อพยางค์สุดท้ายของเพลงตกตรงที่มือไหนมือนั้นจะต้องยกออกจากวง ผู้จี้จะร้องเพลงประกอบและจี้ไปเรื่อยๆจนเหลือผู้เล่นเหลือมืออยู่ในวงคน เดียวและเป็นสุดท้ายก็เป็นผู้ชนะ ถ้าจะเล่นต่อไปผู้ชนะก็จะเป็นผู้จี้แทนคนเดิม
เพลงร้องประกอบการเล่นจุ้มจี้มีมากมายหลายสำนวน อาจผิดเพี้ยนกันไปบ้างเพราะการถ่ายทอดมาหลายๆขั้นจึงทำให้ถ้อยคำอาจแตกต่าง กันไปในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่
๑. จุ้มจี้ จุ้มเจ้า จุ้มหมากหัวเน่า จุ้มพลูใบมน คดข้าวใส่ถาด นางนาฏเล่นกล เอาไปสักคน นายเพื่อนเราเอย

โอกาสหรือเวลาที่เล่น
จุ้มจี้ เป็นการละเล่นของเด็ก โดยเล่นในเวลาที่ว่างๆหรือมีจำนวนผู้เล่นมากพอสมควร พร้อมที่จะเล่นได้
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
๑.      ทำให้เกิดความสนุกสนาน มีความรัก ความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน
๒. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์




สมาชิกในกลุ่ม เพลงพื้นบ้าน
ประเภท เพลงประกอบการละเล่น

1. นางสาวสุธิดา            จันทะรา             รหัสนักศึกษา        57210406108          หมู่   1
2. นางสาวปณิดา           เผ่ามงคล            รหัสนักศึกษา        57210406109         หมู่  1
3. นายอภิศักดิ์              โถแก้วเขียว          รหัสนักศึกษา        57210406115          หมู่   1
4. นางสาวสุภาวดี           เวงวิถา              รหัสนักศึกษา        57210406126          หมู่   1
5. นายณรงค์ชัย            รุทชาติ               รหัสนักศึกษา          57210406132          หมู่   1
6. นางสาวปิยะพร          ภูชมศรี               รหัสนักศึกษา        57210403424         หมู่  1
7. นางสาวญาณัฉรา       โถชัยคำ              รหัสนักศึกษา       57210406201          หมู่   2
8. นางสาวจินตนาพร       หล่อยดา            รหัสนักศึกษา        57210406202          หมู่  2
9. นางสาววิชุดา             ผาทอง              รหัสนักศึกษา        57210406208         หมู่   2
10. นางสาวอมรรัตน์       คำอยู่                รหัสนักศึกษา       57210406216           หมู่   2
  11. นางสาวปิยะดา          เสียงสาว            รหัสนักศึกษา       57210406227        หมู่  2 
12. นางสาวอินทุอร         กุลชโมรินทร์      รหัสนักศึกษา       57210406230        หมู่  2
  13 .นางสาวรัตชะตาพร     อิมเพชร์             รหัสนักศึกษา      57210406233        หมู่  2   

            นักศึกษาชั้นปีที่  3  

เสนอ
อาจารย์วัชรวร    วงศ์กันหา


ภาคเรียนที่  2 ปีการศึกษา 2559  

 สาขาวิชาภาษาไทย  คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

วิเคราะห์ วรรรกรรมเรื่อง ผาแดงนางไอ่

ภารกิจพิเศษ วิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง ผาแดงนางไอ่

    บทที่ 1 สรุปเนื้อหาวรรณกรรม ผาแดงนางไอ่
                   ครั้งหนึ่ง ยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อ "นครเอกชะทีตา" มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็น พระยาขอมมีพระธิดาสาวสวยนามว่า "นางไอ่คำ" ซึ่งเป็นที่รักและ หวงแหนมาก จึงสร้างปราสาท 7 ชั้นให้ อยู่พร้อมเหล่าสนม กำนัล คอยดูแลอย่างดี
               ขณะเดียวกันยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อ "เมืองผาโพง" มีเจ้าชายนามว่า "ท้าวผาแดง" เป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ ท้าวผาแดงแห่งเมืองผาโพง ได้ยินกิตติศัพท์ความงามของธิดาไอ่คำมาก่อนแล้ว ใคร่อยากจะเห็นหน้า จึงปลอมตัวเป็นพ่อค้าพเนจร ถึง นครเอกชะทีตา และติดสินบนนางสนมกำนัล ให้นำของขวัญลอบเข้าไปให้นางไอ่คำ ด้วยผลกรรมที่ผูกพันกันมาแต่ชาติ ปาง ก่อนนางไอ่คำกับท้าวผาแดง จึงได้มีใจปฏิพัทธ์ต่อกัน จนในที่สุดทั้ง 2 ก็ได้อภิรมย์สมรักกัน
   ก่อนท้าวผาแดงจะจากไป เพื่อจัดขบวนขันหมากมาสู่ขอ ทั้ง 2 ได้คร่ำครวญต่อกันด้วยความอาลัยยิ่ง วันเวลาผ่านไปถึงเดือน 6 เป็นประเพณีแต่โบราณของเมืองเอกชะทีตา จะต้องมีการทำบุญบั้งไฟบูชาพญาแถนระยาขอม จึงได้ประกาศบอก ไปตามหัวเมืองต่างๆ ว่า บุญบั้งไฟปีนี้จะเป็นการหาผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยอีกด้วย ขอให้เจ้าชายหัวเมืองต่างๆ จัดทำบั้งไฟมาจุดแข่งขันกัน ผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษกกับพระธิดาไอ่คำด้วย
                ข่าวนี้ได้ร่ำลือไปทั่วสารทิศ ทุกเมืองในขอบเขตแว่นแคว้นต่างก็ส่งบั้งไฟเข้ามาแข่งขัน เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยาง เมืองเชียงเหียน เชียงทอง แม้กระทั่งพญานาคใต้เมืองบาดาลก็อดใจไม่ไหว ปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาดูโฉมงามนางไอ่คำด้วยในวันงานบุญบั้งไฟ เมื่อถึงวันแข่งขันจุดบั้งไฟ ปรากฏว่า บั้งไฟท้าวผาแดงจุดไม่ขึ้นพ่นควันดำอยู่ถึง 3 วัน 3 คืน จึงระเบิดแตกออกเป็นเสี่ยงๆทำให้ความหวังท้าวผาแดงหมดสิ้นลง  ขณะเดียวกัน ท้าวพังคีพญานาค ที่ปลอมเป็นกระรอกเผือก มีกระดิ่งผูกคอน่ารัก มาไต่เต้นไปมาอยู่บนยอดไม้ ข้างปราสาทนางไอ่คำ ก็ปรากฏร่างให้นางไอ่คำเห็น นางจึงคิดอยากได้มาเลี้ยง แต่แล้วก็จับไม่ได้ จึงบอกให้นายพราน ยิงเอาตัวตายมา ในที่สุดกระรอกเผือกพังคีก็ถูกยิงด้วยลูกดอกจนตาย ก่อนตายท้าวพังคีได้อธิษฐานไว้ว่า "ขอให้เนื้อของข้าได้แปดพันเกวียน คนทั้งเมืองอย่าได้กินหมดเกลี้ยง"
                จากนั้นร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่ขึ้น จนผู้คนแตกตื่นมาดูกัน และจัดการแล่เนื้อแบ่งกันไปกินทั่วเมืองด้วยว่าเป็นอาหาร ทิพย์ ยกเว้นแต่พวกแม่ม่ายที่ชาวเมืองรังเกียจ ไม่แบ่งเนื้อกระรอกให้ พญานาคแห่งเมืองบาดาลทราบข่าวท้าวพังคีถูกมนุษย์ฆ่าตาย แล่เนื้อไปกินกันทั้งเมือง จึงโกธรแค้นยิ่งนัก ดึกสงัดของคืนนั้นขณะที่ชาวเมืองชะทีตากำลังหลับไหล เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ท้องฟ้าอื้ออึงไปด้วยพายุฝนฟ้า กระหน่ำลงมาอย่างหนัก ฟ้าแลบอยู่มิได้ขาด แผ่นดินเริ่มถล่มยุบตัวลงไปทีละน้อย ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของผู้คนที่วิ่งหนี ตาย เหล่าพญานาคผุดขึ้นมานับหมื่น นับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3 - 4 แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่ายไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือกจึงรอดตายฝ่ายท้าวผาแดงได้โอกาสรีบควบม้าหนีออกจากเมือง โดยไม่ลืมแวะรับพระธิดาไอ่คำไปด้วย แต่แม้จะเร่งฝีเท้า ม้าเท่าใด ก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ทำให้แผ่นดินถล่มตามมาติดๆ ในที่สุดก็กลืนท้าวผาแดงและพระธิดาไอ่คำพร้อมม้าแสน รู้ชื่อ "บักสาม" จมหายไปใต้พื้นดินรุ่งเช้าภาพของเมืองเอกชะทีตาที่เคยรุ่งเรืองโอฬาร ก็อันตธานหายไปสิ้น คงเห็นพื้นน้ำกว้างยาวสุดตา ทุกชีวิตในเมืองเอกชะทีตาจมสู่ใต้บาดาลจนหมดสิ้น เหลือไว้แต่แม่ม่ายบนเกาะร้าง 3 - 4 แห่ง ในผืนน้ำอันกว้างนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น
หนองหานหลวง ดังปรากฏในปัจจุบัน.
ที่มาและความสำคัญ
เป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาถึงมูลเหตุที่ทำให้เกิดหนองหาน จังหวัดสกลนคร และอุดรธานี เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรักสามเส้าโศกนาฏกรรมระหว่างนางไอ่ ท้าวผาแดง และท้าวภังคี ในเรื่องมีการแข่งขันจุดบั้งไฟ  เมื่อท้าวภังคีซึ่งคือพญานาคผู้แปลงตัวเป็นกระรอกเผือกถูกทำร้ายจนถึงแก่ความตาย พญานาคผู้เป็นบิดาจึงบันดาลให้เกิดเมืองล่มจมสู่บาดาล เกิดเป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาถึงหนองน้ำใหญ่ที่มีเมืองล่มอยู่ภายใต้หนองน้ำนั้น ตำนานเรื่องนี้จึงชี้ให้เห็นโทษของการทำลายธรรมชาติ (พญานาค) จนทำให้เมืองมนุษย์ล่มสลาย  ตำนานเรื่องนี้ใช้อธิบายภูมิศาสตร์และภูมินามในหลายสถานที่ในสกลนครและอุดรธานี ในปัจจุบัน มีการใช้ตำนานเรื่องนี้ในประเพณีบุญบั้งไฟด้วยเนื่องจากในตำนานมีเรื่องของการแข่งขันจุดบั้งไฟ ในขบวนแห่บั้งไฟในปัจจุบันจึงมีการนำเสนอตัวละครผาแดง-นางไอ่ด้วย

ผู้แต่ง   นายสิริวัฒน์  คำวันสา   สำนักพิมพ์ คุรุสภาราดพร้าว  ปีที่พิมพ์ 
2552





เรียบเรียงโดย  เตชวโรภิกขุ  ( อีนตา กวีวงศ์ ) สำนักพิมพ์คลังนานาวิทยา  ปีที่พิมพ์ 2544   ร้านคลังนานาธรรม  ก่อตั้งพ.ศ. 2480





                                             161/6-8 ด้านข้างโรงเรียนกัลยาณวัตร ถนนกลางเมือง
                                              ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
                                              Tel 043-221591, 043-221346 แฟ๊กซ์ 043-223482
                                              EMAIL: KLANGNANATHAM@GMAIL.COM

 บทที่การวิเคราะห์ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่

1. วิเคราะห์ชื่อเรื่อง  ผาแดง  นางไอ่ 
  - ชื่อเรื่องของวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เรื่อง ผาแดง นางไอ่ นี้มีที่มาจากการนำเอาชื่อของตัวละครเอก ที่เป็นพระนางในเรื่องมาตั้งชื่อวรรณกรรม
2. แก่นเรื่อง
 - รักสามเศร้าเหตุแห่งโศกนาฏกรรมแห่งรัก
3. โครงเรื่อง
            การเปิดเรื่อง
               - เป็นการบรรยายเกี่ยวกับ พระยาขอม เจ้าเมืองครองเมือง เอกธิดา หรือ เอกชะธีตา ที่มี
พระธิดาที่มีโฉมงดงาม ชื่อว่า นางไอ่คำ
              การดำเนินเรื่อง
                - ท้าวผาแดง เจ้าชายเมืองผาโพง ทราบข่าวเล่าลือถึงสิริโฉมอันงดงามของ นางไอ่ ก็เกิดความหลงไหลใฝ่ฝันในตัวนางไอ่ จึงทอดสัมพันธ์ไมตรีด้วยการส่งแก้วแหวนเงินทองและผ้าแพรพรรณเนื้อดีไปฝากและแอบไป
               - ผาแดงแอบไปหานางไอ่และรักใคร่กัน ผาแดงสัญญากับนางไอ่ว่าจะมาสู่ขอตามประเพณี
               - ท้าวพังคี ลูกชายพญาศรีสุทโธ พญานาคผู้ครองเมืองบาดาล อีกตนหนึ่งที่อยากยลสิริโฉมของ นางไอ่ เพราะกรรมที่เคยทำร่วมกันในอดีตจึงทำให้เป็นเช่นนี้
               - บรรยายถึง อดีตชาติ ของพังคี ที่เคยเป็นชายหนุ่มที่ยากจนบ้าใบ้
               - พระยาขอมมีใบฏีกาบอกไปยังเมืองต่างๆให้มาแข่งบั้งไฟ ใครชนะจะยก นางไอ่ให้เป็นคู่ครอง
                - พระยาขอมกำหนดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันแข่งบั้งไฟ
                - ผาแดงมาร่วมงานแข่งบั้งไฟ
               - ภังคีแปลงกายเป็นกระรอกเพื่อชมความงามของนางไอ่ และลุ้นว่าใครจะได้นางไอ่ไปครอง              
               - การแข่งขันไม่มีใครแพ้ใครชนะทุกคนแยกย้ายกลับเมือง
           
  - ภังคีกลับไปเมืองบาดาลแล้วกลับมาเมืองเอกธิดาอีกครั้งโดยแปลงกายเป็นกระรอกมีกระดิ่งห้อยคอ
              - นางไอ่อยากได้กระรอกน้อยมาเลี้ยง แต่จับเป็นไม่ได้เลยให้นายพรานจับตาย           
              - นายพรานแจกจ่ายเนื้อกระรอกให้ชาวเมืองกินยกเว้นแม่ฮ้างแม่ม่ายไม่มีโอกาสได้ชิมรสของกระรอกด่อน
               - พญานาคราชทราบข่าวภังคีตายก็มีความโกธร  ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเกิดน้ำทะลักเจ้าท่วมเมืองเอกธิดาผู้คนจมหายลงใต้น้ำหมดยกเว้นหญิงแก่หญิงม่ายที่ไม่ได้กินเนื้อกระรอก
              - ผาแดงทราบข่าวเมืองเอกธิดาและจะกลับมาช่วยนางไอ่แต่ช่วยไม่ได้นางไอ่จมลงใต้น้ำ
         การปิดเรื่อง
               - ท้าวผาแดงและนางไอ่ถูกพญานาคกลืนกินตายไปตามกัน
4. วิเคราะห์ตัวละคร
ตัวละครหลัก
                1 ท้าวผาแดง
                เจ้าชายเมืองผาโพง  เป็นชายที่มีรูปร่างสง่างาม องอาจ ผึ่งผาย เป็นที่ต้องตาต้องใจของหญิงที่พบเห็น มีชาติเป็นมนุษย์
               2 นางไอ่
                เป็นธิดาของพระยาขอมแห่งเมืองเอกซะทีตา  เป็นหญิงที่มีรูปร่างหน้าตางดงาม ซึ่งจะหาสาวงามนางใดในสามภพมาเทียบมิได้
              3 ท้าวพังคี
                ลูกชายพญาศรีสุทโธ พญานาคผู้ครองเมืองบาดาล ก็เป็นอีกตนหนึ่งที่มี ความไฝ่ฝันอยากยลศิริโฉมของนางไอ่ ทั้งนี้ก็เพราะเป็นเวรกรรมในอดีตชาตินั้นบันดาลให้เป็นไป
                        ตัวละครรอง
                1. ท้าวสุทโธนาค
                เป็นพญานาคแห่งเมืองบาดาล เป็นพ่อที่มีความรักลูกมาก เวลาโมโหหรือโกรธจะน่ากลัว
               2. พระยาขอม
                เป็นกษัตริย์ครองเมืองเอกซะฑีตา  เป็นพระบิดาที่มีความรักลูกมาก
5. ภาษา
                นิทานผาแดง นางไอ่ ในหนังสือเล่มที่เลือกมาศึกษา จะแต่งเป็นคำกลอนโบราณอีสาน ฉันทลักษณ์ที่ใช้จะเป็นภาษาอีสาน คล้ายการแต่งร่าย มีสัมผัสสระและพยัญชนะเพื่อทำให้เกิดความคล้องจอง ไพเราะและทำให้ผู้อ่านเกิดความคล้อยตามเน้นการใช้ภาษาอีสานหรือภาษาลาว เพราะเป็นวรรณกรรมอีสานเป็นหนังสือที่เหมาะแก่ผู้อ่านทั่วๆไปเพื่อความสนุกสนาน อ่านแล้วทำให้ฉุดคิด มีคติสอนใจ ไม่ว่าจะเป็นคติทางโลกและทางธรรม เป็นหนังสือที่ใช้ภาษาอีสานหรือภาษาลาวได้ไพเราะมาก
6. ฉาก
                ฉากหลัก
1. เมืองเอกซะฑีตา
- มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ทีครองเมือง เป็นสถานที่จัดแข่งบั้งไฟ เพื่อหาคู่ให้นางไอ่  ถ้าใครแข่งบั้งไฟชนะจะได้นางไอ่ไปครอง
- เป็นสถานที่นางไอ่กับผาแดงแอบลักลอกมาหากันเกิดเป็นความรัก
- เป็นสถานที่เหกิดเหตุการณ์ท้าวสุโธนาคไล่ฆ่าผู้คนด้วยความโกรธที่ลูกชายพังคีตาย
                ฉากรอง
1. เมืองบาดาล
- พังคี ทูลขออนุญาตพระบิดาขึ้นมาเมืองมนุษย์
               
บทที่ 3 ความโดเด่น
ด้านเนื้อหา
       วรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่ ถือเป็นวรรณกรรมที่ได้สอดแทรก ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่โดดเด่นที่รู้จักกันมากนั้นคือ ประเพณีบุญบั้งไฟ และยังแทรก ค่านิยม ความเชื่อ และปรัชญาชีวิตของคนอีสานไว้มากมาย
ด้านตัวละคร
 
         วรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่ ตัวละครเป็นตัวกำหนดให้เรื่องดำเนินไปต่อได้ และกล่าวถึงความรักที่พังคีมั่นคงในรักเดียวต่อนางไอ่ที่มีมาแต่ชาติที่แล้วจนมาถึงปัจจุบันชาติ
ด้านการใช้ภาษา

        ในการแต่งวรรณกรรมเรื่อง ผาแดง นางไอ่ จะใช้ภาษาลาวและภาษาไทยลาว โดยแต่งเป็นคำกลอนโบราณที่ดึงดูดความสนใจ  ภาษาสละสลวย

บทที่ ๔  การนำไปประยุกต์ใช้

1.  ประติมากรรมท้าวผาแดง นางไอ่ ขี่ม้าหนีพญานาค (เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ)




2. มีการนำมาเป็นแต่งหนังสือนิทานสำหรับอ่านเล่น

                                         


3.มีการนำมาแต่งเป็นเพลง เป็นกลอนลำที่ใช้ร้องเล่น ใช้ในการแสดง




สรุปท้ายเรื่อง  อินโฟกราฟฟิค 
เรื่อง  ผาแดง นางไอ่